โครงสร้างการทำกำไร ???
ช่วงนี้มีลูกค้าหลายรายให้ความไว้วางในผมในหลักสูตร การบริหารและประเมินผลงาน
เลยอยากจะแชร์ ประเด็นสำคัญที่มักพบในการทำระบบ
สิ่งสำคัญที่ทำให้องค์กรไม่ประสบความสำเร็จในเป้าหมายคือ
พนักงานที่เกี่ยวข้องคนสำคัญ คือ ระดับจัดการ ไม่เข้าใจโครงสร้างการทำกำไรขององค์กร
โครงสร้างการทำกำไรที่พูดถึงนี้ ไม่ได้หมายถึงโครงสร้างทางบัญชีการเงินอย่างเดียวนะครับ
แต่มันคือหลักของ Cause and Effect หรือ สาเหตุที่ส่งผลต่อการทำกำไรขององค์กร
ดังนั้น ปลายทางก็คือ กำไรสุทธิขององค์กร (Net Profit)
ไล่ย้อนกลับไปหาต้นทาง ว่าปัจจัยภายในอะไรมีผลต่อกำไรขององค์กร
ปลายทางจะเป็นเรื่องของตัวเลขบัญชี แต่ต้นทางก็จะเป็น
งานหรือหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อกำไรขององค์กร
ประเด็นสำคัญคือ คนที่รู้สัดส่วนตัวเลขทางการเงินต่างๆ คือบัญชี
แต่บัญชีไม่ได้มีหน้าที่ในการปฏิบัติ ในส่วนของปัจจัยสำคัญต่างๆที่มีผลกระทบปลายทาง
ส่วนระดับจัดการ เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการบริหารควบคุมการปฏิบัติ ให้เกิดผลต่อกำไร
กลับไม่ทราบตัวเลข หรือ องค์กรไม่ให้ทราบ หรือ เขาให้ทราบแต่ไม่เคยได้ดูและนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์
หลายท่านแย้งว่า ก็เป็นหน้าที่ของระดับบริหาร หรือ Corporate Planing นั่นไงที่ต้องจัดการเรื่องนี้
ไม่ปฏิเสธครับ แต่ประสบการณ์การเป็นที่ปรึกษาและวิทยากรที่ได้สัมผัสลูกค้ามาหลายราย
ความเป็นจริง กลับพบว่า เป้าหมายทางการเงินปลายทาง กับเป้าในการปฏิบัติต้นทางไม่ค่อยสอดคล้องกัน
ยกตัวอย่างเช่น องค์กรมีเป้าหมายในการลดต้นทุน 100 MB จากปีที่แล้ว
แต่พอไล่ไปถึงระดับหน่วยงาน แต่ละหน่วยงานก็กำหนด เป้าหมายในการลดต้นทุนของตัวเอง
เช่นการผลิต ลดของเสีย คุมชั่วโมง OT ฝ่ายอื่นๆก็ มีเป้าของตัวเองกันไป
แต่พอตอน workshop ให้ลองคำนวณ ย้อนกลับมาเป็นตัวเงินทั้งองค์กรดูว่า
ทุกหน่วยงานรวมกันแล้ว ได้เท่าไหร่ ซึ่งการคำนวณกลับในทางปฏิบติไม่ง่ายเลย
เพราะแต่ละหน่วยงาน ไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่างานต่างๆที่หน่วยงานตัวเองทำ คิดเป็นต้นทุนเท่าไหร่
เลยต้องให้บัญชีเข้ามาช่วยให้ผ่านพ้นไปได้ แต่เอาแค่ระดับประมาณการคร่าวๆก็พอ
สรุปว่าสิ่งที่แต่ละหน่วยงานตั้งเป้าต่างๆในการลดต้นทุน รวมกันทั้งหมดแล้ว
ได้ประมาณ 10 ล้านเท่านั้น จากเป้าองค์กร 100 MB
จุดสำคัญคือ
1. เป้าลดต้นทุน 100 MB สมเหตุสมผลหรือไม่ ตัวเลขมาจากไหน
2. ต้นทุนขององค์กรทั้งหมด กระจายไปส่วนไหน เท่าไหร่
ตัวเลขทางการเงิน กำไร ยอดขาย ต้นทุน ผู้เกี่ยวข้องรับรู้และเข้าใจหรือไม่
อะไรคือ EBIT, EBITDA, Gross Profit ตัวเลข COGS และ SG&A เป็นเท่าไหร่
แบ่งย่อยลงไปอีกได้อย่างไรบ้าง
Production Cost , Direct Labor , Direct Material,
Over Head ผู้จัดากรฝ่ายผลิต หรือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รับรู้สัดส่วนตัวเลขพวกนี้หรือไม่
เพราะถ้าไม่เข้าใจตรงกัน ระดับจัดการไม่เห็นภาพเดียวกันขององค์กร
ถ้ายังไม่รู้ว่าส่วนไหนเท่าไหร่ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรมากไป น้อยไป ต้องปรับส่วนไหน
แล้วจะสามารถช่วยกันบริหารผลงาน ให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างไร
ปัญหาอุปสรรค์ และแนวทางแก้ไขของเรื่องนี้คือ
1. องค์กรเถ้าแก่หลายองค์กร ยังบริหารแบบเรื่องการเงินถือเป็นความลับ หลายแห่งเติบโตขึ้นมาหลักพันๆล้าน
ก็ยังคงเป็นระบบนี้
ทางแก้คือ ก็เปิดเผยในส่วนที่ งานที่เขามีผลกระทบและจำเป็นต้องรู้ ถ้าไม่เป็นตัวเลขบาท ก็เป็นเปอร์เซนต์ก็ได้
ไม่ใช่ ไม่ให้รู้อะไรเลย
2. โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว ถ้าคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นความลับ แล้วองค์กรมหาชน ที่ต้องเปิดเผยตัวเลขทางการเงิน
เข้าบริหารกันได้อย่างไร เรากลัวคนอื่นจะรู้ เลยทำให้คนของเราก็ไม่รู้ เมื่อไม่รู้ก็เหมือนปิดตาเดิน ก็เท่านั้น
3. คนที่ขึ้นมาเป็นระดับจัดการในองค์กร สิ่งที่ เราไม่ได้รับรู้หรือรับผิดชอบมาก่อน ตอนที่เราเป็นหัวหน้างาน
คือ ผลประกอบการขององค์กร ดังนั้นเราต้องมีการพัฒนาความรู้ทางตัวเลขด้านบัญชีที่สำคัญๆ
ให้กับบุลคลากรระดับนี้ในองค์กร ไม่ต้องจ้างวิทยากรครับ ฝ่ายบัญชีขององค์กรรู้ดีที่สุด
4. ถ้าคิดว่าคนในองค์กรรู้แล้วอาจเกิดความเสียหาย ขอให้ทบทวนใหม่นะครับ การที่คนในองค์กรเข้าใจองค์กร
ในด้านโครงสร้างการเงินไม่ได้มีแต่ผลเสีย ขึ้นอยู่กับว่า ค่านิยมของคนในองค์กรเป็นอย่างไร ถ้าคนของเรามีความมุ่งมั่นทุ่มเท
แต่ทำงานไม่ถูกจุด เรื่องนี้ช่วยได้มาก แต่ถ้าคนในองค์กร เห็นแก่ตัว แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ก็ไปปรับทัศนคติ ค่านิยมกันไป
แต่ที่แน่นอนคือ ถ้าองค์กรเติบโตไม่ได้เสียหายอย่างยิ่ง วันนี้เราพัฒนาและใช้ศักยภาพคนให้เต็มที่ เมื่อองค์กรเติบโตขึ้น
ก็พัฒนาระบบตรวจสอบ หรือเพิ่มฝ่ายตรวจสอบไปพร้อมๆกัน ดีกว่า อยู่แบบไม่ก้าวหน้า ยอดขายไม่โต ต้นทุนสูงเกินไป
5. ผู้บริหารองค์กรอย่าลืมว่า คนที่จะรู้รายละเอียด เห็นปัญหา ทางแก้ไขในแต่ละการปฏิบติบัติงานที่ดีที่สุดคือ
ผู้ที่ดูแล ควบคุมหรือผู้ปฏิบติเอง หลายๆ ไอเดีย ในการพัฒนาองค์กรเกิดจากพนักงาน
หากองค์กรเปิดโอกาสรับฟัง ก็จะได้แนวทางการพัฒนาอีกมากมาย
การแข่งขันทางธุรกิจ ที่สูงมากในทุกวันนี้ หากเรายังบริหารและพัฒนาคนระบบเดิมๆ
โดยเฉพาะการพนักงานไม่ได้ใช้ศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ถือว่าองค์กรเสียโอกาสอย่างมาก
ยากที่จะเติบโต และ เอาชนะคู่แข่งได้
แล้วคุยกันใหม่ครับ
|